O30 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานและการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรม และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ที่มาและความสำคัญ
ตามที่ สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้พัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้เชื่อมโยงกับบทบาท ภารกิจ ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนปฏิบัติกรต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมีเป้าหมายให้ภาพรวมประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส การทุจริตมีแนวโน้มลดลง และประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทุจริต ซึ่งส่งผลให้การรับรู้ของนานาประเทศเกี่ยวกับการทุจริตของประเทศไทย มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสะท้อนผ่านผลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ที่สูงขึ้นอันจะทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มอบนโยบายผ่านที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามกรทุจริตเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ให้สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ศึกษาแนวทางและหารือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ลงสู่ “สถานีตำรวจนครบาล” เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมและเกิดการป้องกันการทุจริตในเชิงพื้นที่ (Area)เขตกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คู่ขนานไปกับการขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ลงสู่ สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ที่สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสได้ดำเนินการไปแล้ว ตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะในมิติของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เห็นชอบ พร้อมให้ความร่วมมือและรับดำเนินการตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และพลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งขณะนั้น แสดงเจตนารมณ์ร่วมระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) สู่สถานีตำรวจทั่วประเทศ
ในปีงบประมาณ 2566 วันที่ 19 ธันวาคม 2565 พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และ พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดกิจกรรม และมอบนโยบาย ขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) สู่สถานีตำรวจทั่วประเทศ แก่สถานีตำรวจทั่วประเทศ ทั้งนี้ได้กำหนดปฏิทินกิจกรรม เพื่อให้ สถานีตำรวจทั่วประเทศดำเนินการไปไปในทิศทางเดียวกัน
เพื่อการดำเนินการขับเคลื่อน การประเมินเป็นไปโดย เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และทันตามปฏิทินกิจกรรม สถานีตำรวจนครบาลบางรัก ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รายละเอียดดังนี้
การชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 9.30 น. สถานีตำรวจนครบาลลำผักชี ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ระดับหัวหน้าสายงาน ของสถานีตำรวจนครบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยก่อนประชุม ได้อธิบาย ปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ แก่ รองผู้กำกับการ/หัวหน้าทุกส่วนงาน ผ่าน วีดีทัศน์ Clinic Police ITA จาก สำนักงาน ป.ป.ช.
จากนั้นได้เริ่มการประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจนครบาลลำผักชี ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รายละเอียดเนื้อหาการประชุม โดยสรุปปรากฎตามรายงานการประชุมนี้