O3 : กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฏหมายที่ประชาชนควรรู้

บช.น. ห่วงใยเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัยไม่ทำผิดกฏหมาย และรบกวนผู้อื่น

กระทรวงยุติธรรมช่วยคุณได้ถ้าโดนลูกหลง หรือบาดเจ็บจากการทำผิดทางอาญาของผู้อื่น

รู้หรือไม่ ? หากท่านทำผิดกฏจราจร จนเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแล้วท่านไม่ชำระค่าปรับจนเป็น “ใบสั่งค้างจ่าย” ท่านจะถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน และไม่ได้ป้ายภาษี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชื่อมต่อ
ข้อมูลกรมการขนส่งทางบกหากไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่งที่พบการกระทำผิด ตั้งแต่ 1 เม.ย.66 จะถูกชะลอการออกป้ายภาษีไม่มีป้ายภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และถูกตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน

สิทธิที่จะไม่พูด.. ไม่ตอบคำถาม.. ไม่ให้การกับตำรวจ..

หลายคนไม่รู้ว่า ถ้าตำรวจแจ้งข้อหาจับเราแล้ว…. เราเป็นผู้ต้องหา เรามีสิทธิอะไรบ้าง... ถ้าตำรวจสอบถามอะไร เราจะต้องตอบทั้งหมดมั้ย….. สิทธิผู้ต้องหา หรือจำเลยที่จะเล่าให้ฟังในวันนี้ คือ เรื่องสิทธิที่จะไม่พูด.. ไม่ตอบคำถาม.. ไม่ให้การกับตำรวจ.. สิทธินี้ เขียนไว้ในกฎหมายว่า ตำรวจต้องแจ้งสิทธิเขาว่า.. เขาจะไม่ตอบคำถามใดๆที่จะต้องถูกดำเนินคดีได้.. อาจจะขอคุยกับทนายความก่อน… ค่อยยอมให้การ…. หรือคุยแล้ว ยังไม่ให้การ ก็ยังได้… กฎหมายนี้ นักกฎหมายทุกคนต้องได้เรียน… แต่สิ่งที่นักศึกษากฎหมายส่วนมากไม่รู้คือ… ที่มา หรือแนวคิดทฤษฎีของสิทธิ ที่จะไม่พูดว่า เอามาจากไหน.. ถ้าเราได้เรียนรู้ เข้าใจที่มาที่ไป จะทำให้เราเข้าใจใช้ และตีความกฎหมายได้ถูกต้องมากขึ้นครับ…

 

หากแผ่นป้ายทะเบียนรถลอก ตัวหนังสือซีดจาง หรือมองไม่เห็นตัวหนังสือ ห้ามนำหมึกสีดำไปเติมบนตัวอักษรหรือตัวเลขที่สีจาง ไม่งั้น มีความผิด ตาม  พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานปิดบังหรือเจตนาดัดแปลงทะเบียนรถยนต์ คือสีดำบนตัวอักษรหรือตัวเลขบนทะเบียนรถ หรือหากเพิกเฉยและไม่เปลี่ยนป้ายทะเบียน จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายข้อหาใช้ป้ายทะเบียนชำรุด

 

สามีหรือภรรยาทำร้ายร่างกาย มีความผิดตามกฎหมาย (ยอมความได้)
ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตราแก่กายหรือจิตใจ : จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แนวทางการปฏิบัติตามกฏหมาย

แนวปฏิบัติในการจับหรือค้น

มาตรการป้องกันการแทรกแซงการใช้ดุลยพินิจ

แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

แนวปฏิบัติในการสอบปากคำของพนักงงานสอบสวน

สิทธิของผู้เสียหายหือเหยื่ออาชญากรรมและสิทธิผู้ต้องหา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Skip to content